6 สัญญาณเตือน เช็กอย่างไร ว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ?
ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย และไวรัสที่เป็นอันตรายเข้ามาทำร้ายร่างกายของคุณ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเพื่อให้ต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้
ต้องอาศัยการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายที่ดี เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ
ในกรณีที่คุณได้รับสารอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ คุณอาจรับประทานวิตามินเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อร่างกาย แต่พฤติกรรมบางอย่าง ก็สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้
ลองเช็กเบื้องต้นดูสิว่าคุณเองมีพฤติกรรมทำหลายสุขภาพเหล่านี้หรือไม่
- คุณเป็นโรคหวัด บ่อยหรือไม่?
- คุณเป็นโรคอื่น ๆ (เช่น เบาหวาน) หรือไม่?
- คุณมีปัญหากับน้ำหนักตัวหรือไม่?
- คุณีไลฟ์สไตล์ที่เครียดหรือไม่?
- คุณมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติหรือไม่?
- คุณสูบบุหรี่หรือไม่?
- คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือไม่?
หากคำตอบของคุณคือ "ใช่" ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไป ก็มีโอกาสที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณอาจไม่ดีเท่าที่ควร
มาดูกันดีกว่าว่า สัญญาณเตือนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 6 ประการมีอะไรบ้าง และคุณสามารถดูแลรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
- ความเครียด : คุณอาจสังเกตเห็นว่า บางครั้งหลังจากที่คุณมีภาวะเครียดรุนแรง อาจทำให้คุณไม่สบายได้ นั่นเป็นเพราะร่างกายหลั่งสารคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด)
ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการกำจัดแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราบางชนิดของผิวหนัง การมีความเครียดสะสมอาจส่งผลต่อการพัฒนาเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณ ส่งผลต่อความสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ1
- การติดเชื้อบ่อยครั้ง (ไข้หวัด) : การเป็นหวัดหลายครั้งต่อปี อาจเป็นสัญญาณว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังอ่อนแอลง เพราะเมื่อคุณเป็นไข้หวัด ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้องทำงานอย่างหนัก
ร่างกายจึงร้อนขึ้นและมีไข้ เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ เกิดอาการเจ็บคอ เพราะเซลล์ที่อยู่ในทางเดินหายใจอักเสบเพื่อพยายามหยุดยั้งไวรัส หากคุณมีการติดเชื้อหลายครั้งในหนึ่งปี
ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะต้องทำงานหนักขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องผลิตแอนติบอดีในอัตราที่มากขึ้น
- น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงฉับพลัน : หากน้ำหนักตัวไม่สมส่วนกับความสูง (เช่น มีน้ําหนักเกินหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ก็อาจส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ การมีน้ําหนักเกิน2
จะส่งผลให้ในเซลล์ภูมิคุ้มกันมีเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้น และอาจหลั่งสารเคมีบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกระทบต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ
การมีน้ําหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็อ่อนแอลงได้เช่นกัน อีกทั้งยังทำให้กระดูกเปราะบางกว่าปกติ และคุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเป็นส่วนใหญ่4 ซึ่งส่งผลเสียต่อต่อสุขภาพและภูมิคุ้มกันของคุณ
- ใช้เวลารักษาบาดแผลนานขึ้น : หากคุณสังเกตเห็นว่า แค่การบาดเจ็บเล็กน้อยก็ต้องรักษานานกว่าจะหาย นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณกำลังอ่อนแอลง
การที่ร่างกายต้องใช้เวลาในการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือบาดแผลนานขึ้น อาจเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรัง หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
- ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง : ความไม่สมดุลของปริมาณแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในกระเพาะอาหาร อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณเข้าสู่ภาวะขับของเสียออกจากร่างกายมากเกินไป
จนอาจนำไปสู่อาการท้องร่วง ท้องผูก และมีก๊าซในช่องท้อง ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้บ่อยเวิธีรับมือกับภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
หากคุณพบว่าร่างกายของคุณมีสัญญาณของภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอข้างต้นก็อย่าเพิ่งเป็นกังวลไป เพราะคุณสามารถเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ เพียงทำตามขั้นตอนสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 4 วิธีง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากต่อไปนี้
- เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
- รับประทานอาหารและดีต่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่สมดุล โดยเฉพาะผักและผลไม้สด เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ คุณสามารถรับประทานอาหารเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยให้คุณฟื้นฟูระดับสารอาหารรองในร่างกายได้5
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเครียดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
- นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับให้ได้ 8 ชั่วโมงทุกคืน จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
-
หากิจกรรมคลายเครียด หากออกกำลังกายเป็นประจำ และกิจวัตรการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพยังไม่สามารถช่วยคลายเครียดให้คุณได้ ลองหาวิธีผ่อนคลายอย่างอื่น เช่น การทำสมาธิ หรือโยคะ
แหล่งอ้างอิง::
- Andersen CJ, Murphy KE, Fernandez ML, Impact of Obesity and Metabolic Syndrome on Immunity, ADVANCES IN NUTRITION, Volume 7, Issue 1, January 2016, Pages 66–75, https://doi.org/10.3945/an.115.010207
- https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/advice-for-underweight-adults/
- Ellis S, Lin EJ, Tartar D, Immunology of Wound Healing, Current Dermatology Reports 7(6), September 2018
- Morey JN, Boggero IA, Scott AB, Segerstrom SC, Current Directions in stress and Human Immune Function, Curr Opin Psychol. 2015 Oct 1; 5: 13–17.
- Natelson BH, Haghighi MH, Ponzio NM, Evidence for the Presence of Immune Dysfunction in Chronic Fatigue Syndrome, Clin Diagn Lab Immunol. 2002 Jul; 9(4): 747–752.
- How to prevent infections. Harvard Medical School, 2016. (Accessed 10/02/2020, at https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-prevent-infections.)
- Gombart AF, Pierre A, Maggini S. A Review of Micronutrients and the Immune System-Working in Harmony to Reduce the Risk of Infection. Nutrients 2020;12.
ระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ
โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของมนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ที่คอยช่วยในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยกลไกป้องกันสามประการหลัก ๆ คือ ระบบห่อหุ้มร่างกาย (Physical Barriers) เช่นผิวหนังและเยื่อบุ เซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งเริ่มต้นจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต่อสุขภาพและการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนของร่างกาย
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง!
กำลังมองหาวิธีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของคุณอยู่หรือเปล่า? ลองศึกษาข้อมูลจากบทความที่เป็นประโยชน์ได้ที่นี่